เทรด forex ให้ได้วันละ 1000 บาท

MACD คือ 

MACD คือ  ตัวชี้วัดที่บอกทิศทางแนวโน้มของราคา(Trend)  เป็นเครื่องมือที่มีแนวคิดจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) 2 เส้นที่มีค่าแตกต่างกัน โดยลักษณะเส้นเป็นแบบ Exponential เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Exponential Moving Average (EMA) หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า MACD คือ ระยะห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น นั่นเอง และสามารถใช้การเคลื่อนที่ของ MACD กับ Signal line เพื่อจับจังหวะในการซื้อขา

    • MACD คือ EMA(12) ที่หักออกด้วย EMA(26)
    • EMA(12) และ EMA(26) คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ลักษณะเส้นเป็นแบบ Exponential โดยใช้ราคาปิดย้อนหลัง 12 วัน และ 26 วัน ตามลำดับ

ดังนั้น MACD เกิดจากส่วนต่างของเส้น EMA 12 วัน และเส้น EMA 26 วัน หากท่านใดสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EMA สามารถศึกษาได้โดย คลิกที่นี่

Tips ส่วนใหญ่จะใช้ EMA(12) และ EMA(26) เนื่องจากต้องการจับจังหวะซื้อขายหุ้นในระยะกลาง และนั่นหมายถึง จำนวนวันย้อนหลังอาจไม่ใช่ 12 หรือ 26 วัน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสไตล์หรือรูปแบบการซื้อขายของนักลงทุนแต่ละท่าน

… แต่เส้น MACD เพียงอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้วิเคราะห์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหา Signal line  ด้วย

 

 

>>เปิดบัญชีฝึกเทรดฟรี<<

 

 

การใช้ MACD Divergence

การใช้ MACD ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การเข้าใจเรื่อง Divergence ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ลักษณะของ Divergence คือการขัดทิศทางกันของราคากับ Indicator ซึ่งหลักการก็เหมือนกับการทำงานของ RSI เช่น ในขณะที่ราคายังคงลดลงต่อเนื่องเป็น Lower Low แต่ MACD ได้ยกตัวขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ลักษณะที่ MACD ยกตัวสวนขึ้นมาในแนวโนมราคาขาลง เราจะเรียกสัญญาณจาก MACD นี้ว่า Bullish Divergence ในทางกลับกัน หากราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง แล้ว MACD ไม่ได้ทำจุดสูงสุดใหม่เหมือนราคา เราก็จะเรียกสัญญาณเตือนถึงการมาของขาลงนี้ว่า Bearish Divergence

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปยังถือว่า Divergence เป็นเพียงสัญญาณเตือนเท่านั้น และความเห็นของเทรดเดอร์หลายคน มองว่า สมควรที่จะรอให้เกิดการ Break ราคาทะลุ Trendline ก่อน จึงจะถือว่าเป็นการยืนยันสัญญาณการกลับตัว

ตัวอย่างภาพ การยืนยันสัญญาณ Divergence ควรรอให้เกิดการ Break ของราคาผ่าน Trendline ไปก่อน – EUR/USD Hourly Chart – คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือการทางเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

อีกภาพตัวอย่างสำหรับ Bearish Divergence – EUR/USD Hourly Chart – คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือการทางเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

การตั้งค่า MACD สำหรับเทรด Intraday

การใช้ MACD สำหรับการเทรดภายในวันหรือที่เรียกว่า Intraday นั้น เทคนิคจะเป็นการเพิ่มระยะยาวการคำนวณให้กว้างขึ้น แต่ลดไทม์เฟรมของกราฟลง การตั้งค่า MACD ปกตินั้นจะมีค่า (12,26,9) อย่างที่อธิบายไปในหัวข้อก่อนๆ แต่ Intraday จะตั้งค่า MACD ให้เวลาการคำนวณเพิ่มขึ้น (24,52,9) แต่ลดไทม์เฟรมให้เป็นกราฟ 30 นาที โดยระเทรดตัวอย่าง จะใช้ Indicator และการตั้งค่าดังต่อไปนี้

    • เส้นค่าเฉลี่ย Smoothed Moving Average (SMMA) (365, close)
    • MACD (24,52,9)
    • เพิ่ม Indicator มาอีกชนิด คือ Williams Percent Range (28)

ระบบเทรด MACD ชุดนี้ใช้ได้ผลดีกับไทม์เฟรม 30 นาที และควรใช้กับคู่สกุลเงินหลัก (Major) ซึ่งจะมีสภาพคล่อง ทำให้การวิเคราะห์มีประสิทธิภาพมากกว่าคู่เงินที่สภาพคล่อง ตัวอย่างคู่เงินที่เหมาะกับการเทรดด้วย MACD ได้แก่ EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY, USD/CHF, AUD/USD รวมถึงคู่เงินที่มีความผันผวนและการเคลื่อนไหวที่มีกรอบที่กว้าง GBP/JPY, AUD/JPY, USD/JPY, NZD/JPY, and GBP/NZD.

ภาพกราฟราคาในคู่เงิน EUR/USD M30 Chart – คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือการทางเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

ระบบเทรด MACD สำหรับ Inraday มีกฎการเทรดดังต่อไปนี้

สัญญาณ Buy

    • ราคาต้องอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย SMMA
    • MACD ต้องต่ำกว่าเส้น 0
    • ใช้ William % Range ในการให้สัญญาณการเทรด โดยจะกลับมาเทรด Buy เมื่อ Indicator ตัวนี้สามารถวกกลับขึ้นมาจากโซน -80 ขึ้นมาได้

สัญญาณ Sell

    • ราคาต้องอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMMA
    • MACD ต้องอยู่โซนบน เหนือกว่าเส้น 0
    • ใช้ William % Range ในการให้สัญญาณการเทรด โดยจะกลับมาเทรด Sell เมื่อ Indicator ตัวนี้สามารถวกกลับลงมาจากโซน -20 ลงมาได้

การใช้ MACD ในการเทรดข้างต้น รวมถึงการตั้งค่าที่เหมาะสมต่างๆ อาจจะแตกต่างจากสิ่งที่คุณเคยได้อ่านหรือได้ยินมาจากอินเตอร์เน็ตบ้าง เหตุผลคือ MACD ซ่อนคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพได้อย่างหนึ่ง ที่เทรดเดอร์หลายอาจไม่ได้ดึงประสิทธิภาพจากมันได้เต็มที่ คือ ความสามารถในการจับโมเมมตัม เหมาะมากกับสินค้าที่เทรดเป็นรอบๆ อย่าง Commodity  เพราะ MACD เป็นหนึ่งใน Indicator ประเภท Momemtum Indicator ซึ่งทำให้มันสามารถระบุจุดพักตัวของราคาได้ (Retracement)

สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือหลักการพื้นฐานการเทรด คือ เมื่อราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) เราจะ Buy ก็ต่อเมื่อราคาได้ปรับตัวลงมาแล้ว ในขณะที่ หากราคาเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) เราจะรอ Sell เมื่อราคามันได้มีการ “เด้ง” กลับขึ้นมา คือคุณต้องตระหนักว่า MACD ใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงการ Retracement หลังจากนั้น เป็นขั้นตอนการกรอบสัญญาณยืนยันด้วยวิธีการอื่น หากเข้าใจแบบนี้ การเทรดของคุณจะง่ายขึ้นอย่างมาก

รีวิว แจกซิกแนลในห้องไลน์ ทั้งทอง และคู่สกุลเงิน ทำกำไร Forex

สอบถามเพิ่มเติมเข้ากลุ่มไลน์ กดลิ้งนี้ได้เลย http://bit.ly/thaiforexfamily

โบรกเกอร์ FOREX ที่แนะนำ

ข้อดีและข้อเสีย อัพเดทล่าสุดปี 2021 รายละเอียดแบบชัดเจนทุกประเด็น ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ใบอนุญาต Forex ประเภทบัญชีซื้อขาย แพลตฟอร์ม MT4, MT5 ช่องทางการฝากเงิน ช่องทางการถอนเงิน โบนัส โปรโมชั่นต่างๆ งานสัมมนาหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเทรด ช่องทางการติดต่อและช่วยเหลือจาก Support