ทฤษฎีดาว Dow Theory คือ
ทฤษฎีดาว Dow Theory คือ ทฤษฎีที่มีพื้นฐานของการวิเคราะห์ราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อที่จะทำนายโน้มน้าวตลาด โดยเป็นรากฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นเรียนรู้การวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคอล
Charles H. Dow (1851- 1902) ถือได้ว่าเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค เนื่องจากเขาได้เป็นคนคิดค้น ดัชนีราคาในการวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นคนแรก Dow ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ The wall street journal โดยมีเพื่อนของเขาเป็นหุ้นส่วน Edward Jones รูปแบบฉบับของหนังสือพิมพ์จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงิน เขาคิดดัชนีขึ้นมาใหม่โดยใช้ชื่อตัวเขากับเพื่อนตั้งเป็น ดัชนีดาวโจนส์ ในปี 1896 โดยเอาหุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนี ใช้เป็นตัวอ้างอิง เพื่อจะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีการนำตัวเลขดัชนีมาเขียนเป็นกราฟ ให้เห็นรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา (Price Pattern) เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนแนวโน้มได้
หลักสำคัญ 6 ข้อของทฤษฎี Dow Theory
1. ราคาได้สะท้อนทุกอย่างไว้หมดแล้ว (The Market Discounts Everything)
Dow ให้ข้อเสนอว่าทุกอย่างนั้นได้ถูกสะท้อนเป็นราคาในช่วงเวลานั้น ๆ โดย ‘ราคา’ จะเป็นสิ่งสะท้อนของภาพรวมในตลาด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลกระทบทางการเมือง ข่าวทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ และความต้องการของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด ถ้าเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น ราคามักจะสะท้อนออกมาก่อนที่บริษัทจะประกาศผลประกอบการหรือข่าวในบริษัทเสมอ
2. ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements)
เมื่อมองตลาดในภาพรวมแล้ว Dow ให้ข้อเสนอว่าราคาของตลาดจะมีการเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้มเสมอ ไม่ว่าจะ ขึ้น (Bull market) หรือลง (Bear market) ซึ่งแนวโน้มนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้
2.1 แนวโน้มหลัก – Primary trend เป็นแนวโน้มที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป (ในรูปด้านล่างจะเป็นลูกศรสีแดงใหญ่)
2.2 แนวโน้มรอง – Secondary trend แนวโน้มนี้จะอยู่ระหว่างช่วงพักตัวของแนวโน้มหลัก (ในรูปด้านล่างจะเป็นลูกศรสีม่วง)
2.3 แนวโน้มย่อย – Minor trend มีระยะเวลาน้อยกว่า 6 วัน ซึ่งสิ่งนี้ในตลาดถือว่าเป็นเพียงการรบกวน (noise) เพราะมันไม่ส่งผลอะไรมากนักต่อภาพรวมของตลาด (ในรูปด้านล่างจะเป็นลูกศรสีเขียว)
3. แนวโน้มหลัก แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ (Primary Trends Have Three Phases)
- ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase) เมื่อราคาหุ้นตกลงมากๆ และมีระยะเวลาที่ติดต่อกันนานๆ จะทำให้มูลค่าการซื้อ-ขาย น้อยลงอย่างมาก ช่วงรายใหญ่เก็บหุ้น ช่วงนี้ราคาจะไม่ขึ้นจนกว่าจะเก็บของเสร็จ
- ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase) หุ้นในช่วงนี้นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มสนใจ เพราะเห็นว่ามันมีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยอย่างยิ่ง ใครที่เล่นตาม Trend Following ก็จะกระโจนเข้ามาในช่วงนี้ เพื่อจะทำกำไรตามหุ้นที่ขึ้นอย่างร้อนแรง อาจยังไม่ข่าวออกมาแต่ราคาหุ้นเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน
- ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase) ช่วงที่แมลงเม่า คนเหล่านี้ เห็นหุ้นขึ้นมาร้อนแรง เห็นข่าวดีมากมาย นักลงทุนส่วนใหญ่กระโดดเข้าไปตาม ซึ่งมักจะเป็นช่วงที่ตลาดขึ้นไปสุดแล้ว มันเป็นจุดเริ่มต้นของขาลงในที่สุด
4. ราคาต้องยืนยันซึ่งกันและกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)
ในกรณีมีสัญญาณการเกิดแนวโน้มของราคาไม่ว่าขึ้นหรือลง มันควรพิสูจน์ได้จากราคาที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มนั้น เมื่อ Dow เพิ่งริเริ่มทฤษฎีนี้นั้น เขาให้ความเห็นว่าหากหุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) มีค่าสูงขึ้นจนได้ New high ดังนั้นราคาของหุ้นประเภทขนส่ง (Railroads ในสมัยนั้น) ต้องได้ New high ด้วย จึงจะสามารถพิสูจน์และยืนยันทิศทางขาขึ้นของดัชนีหุ้นในสหรัฐ เนื่องจาก Dow มองว่าถ้าภาพรวมของเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นจริง ภาพใหญ่ต้องขึ้นไม่ใช่ขึ้นเฉพาะบางอุตสาหกรรม
5. ปริมาณวอลุ่มยืนยันทิศทางราคา (Volume Must Confirm the Trend)
ยกตัวอย่างเช่นหากภาพรวมของตลาดมีแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ของตลาดควรจะเพิ่มขึ้นด้วย และในช่วงพัก Volume จึงควรหดตัว ในทางกลับกัน ตลาดมีแนวโน้มขาลงและราคาปรับตัวลง ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ของตลาดควรจะเพิ่มขึ้น แต่ควรหดตัวในช่วง Rebound
ถ้าเป็นตลาดหุ้น หุ้นขึ้นพร้อมวอลุ่มจะมีนัยยะสำคัญเป็นขาขึ้นหรือกลับตัวจากขาลง ถ้าหุ้นลงพร้อมวอลุ่มจะเป็นสัญญาญอันตรายที่จะเป็นแนวโน้มขาลง
ข้อสังเกต ปริมาณวอลุ่มจะสูงสุดในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของ Bull market หรือไม่ก็เป็นช่วงที่ตลาด panic ใน Bear market
6. แนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดสัญญาณที่พิสูจน์ได้ว่าแนวโน้มนั้นจะจบลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended)
พื้นฐานของการเทรดสไตล์ Trend-following คือ เชื่อว่าแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มหรือสัญญาณการกลับตัว
Dow เสนอว่าแนวโน้มหรือ Trend ของตลาดนั้นจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเห็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างชัดเจน และในทฤษฎีนี้นั้นไม่คำนึงถึงระยะเวลาหรือระยะทางของแนวโน้มราคา เพียงแต่คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือสัญญานการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้ม หากมีสัญญาณที่ชัดเจนก็แสดงว่าแนวโน้มนั้น ๆ ใกล้สิ้นสุดแล้ว ซึ่งอาจสังเกตได้จากจุดสูงสุด (High) และจุดต่ำสุด (Low) ของตลาด
บทสรุปการใช้ ทฤษฎีดาว Dow Theory
ในบทความนี้ พยายามอธิบายแนวคิดของ ทฤษฎีดาว และสิ่งที่นักวิเคราะห์สมัยใหม่ได้ปรับใช้ให้เข้ากับตลาดในปัจจุบัน ทั้งนี้ การค้นหาแนวโน้มจะเริ่มจาก [1] กำหนดว่า จุดใดคือจุดเป็น “สวิง” High-Low โดยรอให้เกิดการกลับตัวในสวิงนั้นๆ ก่อนจึงจะนับเป็น High หรือ Low ใหม่
หลังจากนั้นเป็นเรื่อง [2] การหาแนวโน้มหลักและรอง ซึ่งมักใช้การเทคนิคการตี Trendline หรือ Indicator MT4 ในกลุ่ม Moving Average มาช่วยเชื่อมแต่ละสวิงเข้าด้วยกัน โดยแนวโน้มรองจะวิ่งสวนแนวโน้มหลักและใช้ระยะเวลาหรือระยะทางที่สั้นกว่า สุดท้าย [3] เราใช้เรื่องการทดสอบของราคา เป็นตัวช่วยในการประเมินทิศทางหลังจากหาแนวโน้มได้แล้ว
แม้จะมีความล้าสมัยอยู่บ้าง แต่ Dow Theory ของ Charles H. Dow ยังคงเป็นพื้นฐานความรู้ที่ใช้ทำความเข้าใจกับลักษณะและสภาวะตลาด และหากคุณพร้อมแล้วที่จะเข้าไปโลดแล่นในตลาดการเงินแห่งนี้ คุณก็สามารถเลือกได้อย่างอิสระว่าจะเทรดค่าเงิน, หุ้น, ทองคำ ฯลฯ
รีวิว แจกซิกแนลในห้องไลน์ ทั้งทอง และคู่สกุลเงิน ทำกำไร Forex
สอบถามเพิ่มเติมเข้ากลุ่มไลน์ กดลิ้งนี้ได้เลย http://bit.ly/thaiforexfamily
โบรกเกอร์ FOREX ที่แนะนำ
ข้อดีและข้อเสีย อัพเดทล่าสุดปี 2021 รายละเอียดแบบชัดเจนทุกประเด็น ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ใบอนุญาต Forex ประเภทบัญชีซื้อขาย แพลตฟอร์ม MT4, MT5 ช่องทางการฝากเงิน ช่องทางการถอนเงิน โบนัส โปรโมชั่นต่างๆ งานสัมมนาหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเทรด ช่องทางการติดต่อและช่วยเหลือจาก Support